มาตรฐานการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี Seismic Test ของ เสา

เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของตัวเสาเข็ม โดยส่งคลื่นสั่นสะเทือนจากเครื่องกำเนิดความถี่ (Vibrational Machine) ลงไปในเนื้อคอนกรีตของตัวเสาเข็มที่ต้องการตรวจสอบ จึงสามารถตรวจความต่อเนื่องหรือความบกพร่องที่อาจเกิดกับตัวเสาเข็มได้ทั้งยังประมาณความลึกของเสาเข็ม

จากทฤษฏีคลื่นหน่วยแรง *เมื่อมีแรงกระแทกที่กระทำตรงหัวเสาเข้มจะเกิดการแพร่ของคลื่นลงไปสู่ปลายเสาเข็ม และจะเกิดการสะท้อนกลับมาจากแรงต้านของมวลดิน จากพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถใช้ทฤษฏีคลื่นหน่วยแรงมาวิเคราะห็ได้

〖∂^2〗_(u(x,t))/〖∂_t〗^2 =c^2.〖∂^2〗_(u(x,t))/〖∂_x〗^2

โดยที่ cคือ ความเร็วของการเดินทางของคลื่นหน่วยแรงภายในเสาเข็ม uคือ การเคลื่อนที่ของอนุภาคเสาเข็ม xคือ ตำแหน่งของอนุภาคเสาเข็ม t คือ เวลา

การวิเคราะห์ผล

การวิเคราะห์จากวิธีการสะท้อนพัลส์ จะเป็นที่นิยมมากเพราะมีต้นทุนค่าอุปกรณ์ต่ำและมี ขบวนการทำงานน้อย เมื่อเริ่มตอกหัวเสาเข็มจะเกิดคลื่นหน่วยแรงเดินทางจากหัวถึงปลายเสาเข็มและเกิดการสะท้อนกลับเมื่อเสามีความยาว L และคลื่นหน่วยแรงมีความเร็วเท่ากับ Cจะสามารถคำนวณหาเวลาที่ คลื่นเคลื่อนที่ไปอย่างเดียวเท่ากับ2L⁄cดังนั้นเมื่อทำการตรวจสอบจะได้ผลการวัดจากเสาเข็ม สมบูรณ์ ดังรูปที่ 2 โดยจะเห็นได้ว่าระยะห่างจากจุดยอดจะเท่ากับ 2L⁄c



ข้อกำหนดในการทดสอบจากอุปกรณ์

อุปกรณ์เคาะทดสอบ

  • ค้อนมือถือหัวพลาสติกหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้แทนได้ ทั้งนี้ค้อนต้องสามารถสร้างแรงกระแทกที่มีระยะน้อยกว่า 1 มิลลิวินาทีและไม่ทำความเสียหายกับเสาเข็ม

หัววัดสัญญาณเพื่อการวัดความเร็ว

  • หัววัดสัญญาณมาตรความเร่ง ซึ่งต้องสอบให้ได้มีความเร่งเที่ยงตรงเท่ากับร้อยละ 5 ตลอดช่วงการทดสอบ และมาตรความเร่งต้องตอบสนองสัญญาณเชิงแอมพลิจูดเป็น เส้นตรง (Linear Amplitude Response) อย่างน้อยจนถึงความเร่ง 50g มาตรี่สมบรณ์ ต้องมีดังนี้

- มาตรความเร่งสัมพัทธ์ต้องมีความถี่ธรรมาติไม่ต่ำกว่า 30000เฮิรตช์ และมีค่าคงที่ของเวลา (Time Constant)>0.5 sec
- มาตรความเร่งสมบูรณ์ต้องมีการตอบสนองสัญญาณเชิงเฟสคงที่จนถึง
ความถี่5000 เฮิรต์หรือสูงกว่า

  • หัววัดสัญญาณเพื่อการวัดแรงกระแทก

แรงกระแทกที่วัดได้ จะต้องสอบเทียบให้ได้ความเที่ยงตรงที่ดีเท่ากับร้อยละ 5 ตลอดช่วงค่าที่วัดได้

  • สายส่งสัญญาณ

ต้องเป็นสายที่ป้องกันการรบกวน (Shielded Cable) เพื่อลดสัญญาณรบกวน

  • อุปกรณ์ปรับสัญญาณ (Signal Conditioner)

จะต้องตอบสนองเชิงเฟสเหมือนกันสำหรับช่วงของความถี่ที่เกี่ยวข้องกับ
การทดสอบ

  • อุปกรณ์บันทึกสัญญาณ

จะต้องเป็นแบบดิจิทัลเท่านั้น สัญญาณแบบแอนะล็อกจากหัววัดสัญญาณ ถูกแปลงด้วยดิจจิทัล ความละเอียด> 12Bit และ ความถี่> 30000 ข้อมูลต่อวินาที และความคลาดคลื่นต้องไม่เกิดร้อยละ 0.01

  • อุปกรณ์แสดงผล

จะต้องเลือกสัญญาณใรช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 30 มิลลิวินาทีได้


วิธีการทดสอบ

  • การเตรียมการทดสอบ

ขั้นตอนแรกตรวจสอบสถานที่ทดสอบควรเข้าถึงได้ง่ายและไม่มีน้ำท่วมรวมไปถึงสภาพหัวเสาเข็มทดสอบควรมีผิวเรียบต่อมาตรวจสอบเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ควรบ่มคอนกรีตให้มีกำลังไม่ น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าออกแบบหรือ บ่มให้ครบ 7 วันก่อน


  • การเตรียมอุปกรณ์ทดสอบ

ตรวจสอบการทำงานของหัวสัญญาณ สายส่งสัญญาณและระบบวัด สัญญาณตองทำงานได้ ส่วนหัววัดสัญญาณต้องถูกประกบเข้ากับผิวเสาเข็มด้วย ต่ำแหน่งติดตั้งเสาเข็มควรอยู่ห่างจากขอบเสาเข็ม สำหรับเสาที่มีเส้นผ่านศูนย์ กลาง > 500 mm ต้องทำการวัดอย่างน้อยสามตำแหน่ง เพื่อลดความคลาดคลื่น

  • การทดสอบและบันทึกผล

ตรวจสอบหรือปรับความเฉของช่องสัญญาณให้เป็นศูนย์ก่อนตอกทดสอบทุกครั้งการตอกทดสอบต้องกระทำในทิศทางตามแกนเสาเข็มห่างจากต่ำแหน่งที่ติดตั้งหัววัดสัญญาณไม่เกิน300 มิลลิเมตรและในการตรวจสอบต่ำแหน่งหนึ่งจะต้องทดอบไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง และมีสัญญาณคล้ายคลึงกันหรือ ไม่การบันทึกสามารถใช้ค่าเฉลี่ยได้ แต่หากไม่สามารถทำซ้ำได้ ถ้าให้ตรวจสอบอุปกรณ์ทันที และตรวจสอบแล้วอุปกร์ทำงานผิดปกติให้เปลี่ยนอุปกรณ์ทันที
ตามมาตรฐาน: ASTM D5882